เมนู

วจสา (วิธีการสาธยายด้วยวาจา)


จริงอยู่ ภิกษุนั้นครั้นกล่าวว่า เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ
แล้ว พึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา ดังนี้.
ครั้นว่า มํสํ นหารู อฏฺฐี อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ ในวักกปัญจกะ อัน
เป็นลำดับแห่งตจปัญจกะนั้นแล้ว พึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า วกฺกํ อฏฺฐิมิญฺชํ
อฏฺฐี นหารู มํสํ, ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา
ดังนี้.
ลำดับนั้น ครั้นว่าในปัปผาสปัญจกะว่า หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ
ปปฺผาสํ
แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า ปปฺผาสํ ปีหกํ กิโลมกํ ยกนํ หทยํ,
วกฺกํ อฏฺฐิมิญฺชํ อฏฺฐี นหารู มํสํ, ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา
ดังนี้.
ลำดับนั้น พึงยก มตฺถลุงฺคํ อันมาในปฏิสัมภิทามรรค แม้ไม่ได้ยก
ขึ้นสู่บาลีนี้ ให้ขึ้นสู่บาลีในที่สุดแห่งกรีสะ แล้วว่าในมัตถลุงคปัญจกะนี้ ว่า
อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ มตฺถลุงฺคํ แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า
มตฺถลุงฺคํ กรีสํ อุทริยํ อนฺตคุณํ อนฺต, ปปฺผาสํ ปีหกํ กิโลมกํ ยกนํ
หทยํ, วกฺกํ อฏฺฐิมิญฺชํ อฏฺฐี นหารู มํสํ, ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา

ดังนี้.
ลำดับนั้น พึงว่าในเมทฉักกะว่า ปิตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ
เสโท เมโท
แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า เมโท เสโท โลหิตํ ปุพฺโพ
เสมฺหํ ปิตฺตํ, มตฺถลุงฺคํ กรีสํ อุทริยํ อนฺตคุณํ อนฺตํ, ปปฺผาสํ ปิหกํ
กิโลมกํ ยกนํ หทยํ, วกฺกํ อฏฺฐิมิญฺชํ อฏฺฐี นหารู มํสํ, ตโจ ทนฺตา
นขา โลมา เกสา
ดังนี้.
ลำดับนั้น พึงว่าในมุตตฉักกะว่า อสฺสุ วสา เขโฬ สึฆานิกา
ลสิกา มุตฺตํ
แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า มุตฺตํ ลสิกา สึฆานิกา เขโฬ

วสา อสฺสุ, เมโท เสโท โลหิตํ ปุพฺโพ เสมฺหํ ปิตฺตํ, มตฺถลุงฺคํ
กรีสํ อุทริยํ อนฺตคุณํ อนฺตํ, ปปฺผาสํ ปิหกํ กิโลมกํ ยกนํ หทยํ,
วกกํ อฏฺฐิมิญฺชํ อฏฺฐี นหารู มํสํ, ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา

ดังนี้.
พึงทำการสาธยายร้อยครั้งบ้าง พันครั้งบ้าง แสนครั้งบ้าง ด้วยวาจา
ดังพรรณนามาฉะนี้. จริงอยู่ ระบบแห่งกรรมฐาน ย่อมเป็นอันคล่องแคล่ว
โดยการสาธยายด้วยวาจา จิตย่อมไม่แล่นไปข้างโน้นข้างนี้ โกฏฐาสทั้งหลาย
ย่อมปรากฏเหมือนสายสร้อยข้อมือ เหมือนแถวหลักรั้ว ฉะนั้น.

มนสา (วิธีการสาธยายด้วยใจ)


ก็พระโยคาวจร พึงทำการสาธยายด้วยวาจา ฉันใด แม้การสาธยาย
ด้วยใจก็ฉันนั้นนั่นแหละ เพราะการสาธยายด้วยวาจาเป็นปัจจัยแก่การสาธยาย
ด้วยใจ. การสาธยายด้วยใจเป็นปัจจัยแก่การแทงตลอดซึ่งลักษณะ. การแทง
ตลอดลักษณะ เป็นปัจจัยแก่การแทงตลอดมรรคและผล.

วณฺณโตทิ (กำหนดโดยสี เป็นต้น)


ข้อว่า วณฺณโต ความว่า พึงกำหนดสีแห่งโกฏฐาสทั้งหลาย มีผม
เป็นต้น. คำว่า. สณฺฐานโต คือ พึงกำหนดสัณฐานแห่งโกฏฐาสทั้งหลาย
มีผมเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ. คำว่า ทิสโต ความว่า ในสรีระนี้ ทิศเบื้อง
บนตั้งแต่นาภีขึ้นไปทิศเบื้องต่ำจากนาภีลงมา ฉะนั้น พึงกำหนดทิศว่า โกฏ-
ฐาสนี้อยู่ในทิศชื่อนี้. คำว่า โอกาสโต ความว่า พึงกำหนดโอกาสแห่งโกฏ-
ฐาสนั้น ๆ อย่างนี้ว่า โกฏฐาสนี้ตั้งอยู่ในโอกาสชื่อนี้. คำว่า ปริจฺเฉทโต ได้